ยุทธศาสตร์ / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
ยุทธศาสตร์กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2555-2559
วิศัยทัศน์
- มุ่งสู่สังคมคุณภาพบนพื้นฐานความรับผิดชอบร่วมกัน
พันธกิจ
- สร้างระบบสวัสดิการให้ประชาชนมีหลักประกันและมีความมั่นคงในชีวิต
- พัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
- เสริมสร้างทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
- พัฒนาองค์ความรู้ ขีดความสามารถ และระบบการบริหารจัดการด้านการพัฒนาสังคม
ค่านิยมองค์การ
- ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมพลัง สร้างสรรค์สังคมคุณภาพ
ประเด็นยุทศาสตร์
- การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ
- การพัฒนาสังคมเข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
- การเสริมสร้างพลังทางสังคม
- การยกระดับขีดความสามารถการบริหารจัดการด้านการพัฒนาสังคม
เป้าประสงค์
- ประชาชนได้รับสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึงเป็นธรรม
- ประชาชนและสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกัน
- ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์
- บุคลากรและองค์กรด้านการพัฒนาสังคมมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ประเด็นยุทธศาสตร์ | เป้าประสงค์ | ตัวชี้วัด | กลยุทธ์ |
1.การผลักดันให้เกิดสังคมสวัสดิการ | ประชาชนได้รับสวัสดิการพื้นฐาน อย่างทั่วถึงเป็นธรรม | 1.1 ร้อยละของประชากรเป้าหมายที่เข้าถึง และได้รับการคุ้มครองทางสังคมตามมาตรฐานที่กำหนด 1.2 จำนวนครอบครัวที่มีที่อยู่อาศัยมั่นคงและสภาพแวดล้อมน่าอยู่ 1.3 อัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้สูงอายุ สตรี และผู้พิการเพิ่มขึ้น 1.4 อัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ | 1.1 พัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม 1.2 พัฒนาความมั่นคงเรื่องที่อยู่อาศัย 1.3 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตามภารกิจ พม. 1.4 เตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) 1.5 ส่งเสริมสนับสนุนความมั่นคงของมนุษย์ 1.6 การสร้างและขยายโอกาส เพื่อความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางสังคม |
2. การพัฒนาสังคมเข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง | ประชาชนและสถาบันทางสังคม มีความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกัน | 2.1 ร้อยละของครอบครัวที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ครอบครัวเข้มแข็งเพิ่มขึ้น 2.2 ร้อยละการเพิ่มขึ้นของชุมชนเข้มแข็งตามเกณฑ์ที่ กำหนด 2.3 สัดส่วนผู้หญิงในระดับบริหารทั้งภาครัฐ เอกชนและการเมืองในระดับชาติและท้องถิ่น | 2.1 ส่งเสริมสถาบันครอบครัวและชุมชน ให้เป็นกลไกพื้นฐานในการพัฒนาสังคมคุณภาพ 2.2 การพัฒนาและฟื้นฟูชุมชนและสังคม ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง |
3. การเสริมสร้างพลังทางสังคม | ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ในการพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ | 3.1 ร้อยละของภาคีเครือข่าย ที่ได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการ | 3.1 ส่งเสริมบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของประชาชน โดยผ่านกลไกของภาคประชาสังคม 3.2 ส่งเสริมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม |
4. การยกระดับ ขีดความสามารถการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาสังคม | บุคลากรและองค์กรด้านการพัฒนาสังคม มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล | 4.1 ร้อยละความสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านสังคม ที่ครอบคลุม ถูกต้อง และทันสมัย 4.2 จำนวนวันต่อปีที่บุคลากรได้รับการอบรมสมรรถนะ ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาต่างประเทศ 4.3 ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 4.4 ระดับความสำเร็จของตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ของกระทรวง | 4.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านสังคม 4.2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 4.3 การสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ |